หลายท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า facebook เป็นที่ฮิตเหลือเกินในปัจจุบัน ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ตั้งแต่เด็กน้อยอนุบาลจนคนทำงานใครๆ ก็พูดถึงแต่ Facebook วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ ว่า facebook คืออะไร และเราจะใช้งาน facebookได้อย่างไร หากจะอธิบายคำว่า Facebook คืออะไรนั้น คงต้องอธิบายคำว่า Social network กันก่อน Social network คือ การที่คนเราสามารถทำความรู้จักหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล เชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกัน ซึ่งทำให้เกิดเครือข่ายสังสังคมที่ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันบนโลกอินเตอร์เน็ท เฟซบุ๊ก (อังกฤษ: Facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมและเว็บไซต์ เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ดำเนินงานและมีเจ้าของคือ บริษัท เฟซบุ๊ก (Facebook, Inc.) จากข้อมูล 4 ตุลาคม 2555 เฟซบุ๊กมีผู้ใช้ประจำ พันล้านกว่าบัญชี หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1 ใน 7 ของคนทั้งโลก ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ รวมถึงได้รับแจ้งโดยทันทีเมื่อพวกเขาปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ อื่น ๆ ชื่อของเฟซบุ๊กนั้นมาจากชื่อเรียกภาษาปากของสมุดที่ให้กับนักเรียนเมื่อเริ่มเแรกเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ที่มอบให้โดยคณะบริหารมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถรู้จักผู้อื่นได้ดีมากขึ้น เฟซบุ๊กอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าสมัครลงทะเบียนกับเฟซบุ๊ก โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป Facebook คือ เว็บไซต์ Social Network เว็บหนึ่ง เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก การได้รับความนิยมของ Facebook อาจเนื่องมาจากบน Facebook นั้น ผู้ใช้งานสามารถใช้เพื่อติดต่อสื่อสารหรือร่วมทำกิจกรรมกับผู้ใช้งานท่านอื่นได้เช่น การเขียนข้อความ เล่าเรื่อง ความรู้สึก แสดงความคิดเห็นเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ แชทพูดคุย เล่นเกมที่สามารถชวนผู้ใช้งานท่านอื่นมาเล่นกับเราได้ รวมไปถึงทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเข้ามาเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ แอพลิเคชั่นยังแบ่งออกเป็นหลายหมวดหมู่ เช่น เพื่อความบันเทิง เกมปลูกผักยอดนิยม เป็นต้น หรือไม่ว่าจะเป็นเชิงธุรกิจ แอพลิเคชั่นของ Facebook ก็มีให้ใช้งานเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้Facebook จึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก เฟซบุ๊กก่อตั้งขึ้นโดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ร่วมกับเพื่อนร่วมห้องในวิทยาลัยของเขาและเป็นนักเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ชื่อ เอ็ดวาร์โด ซาเวริน, ดิสติน มอสโควิตซ์ และคริส ฮิวส์ เดิมทีสมาชิกของเว็บไซต์จะจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ก่อตั้งและนักเรียนมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด แต่ต่อมาขยับขยายไปสู่มหาวิทยาลัยอื่นในแถบบอสตัน, กลุ่มไอวีลีก, และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แล้วค่อย ๆ เพิ่มนักเรียนจากมหาวิทยาลับอื่น จนกระทั่งเปิดให้กับนักเรียนระดับไฮสคูล จนในที่สุดทุกคนก็สามารถเข้าสมัครได้โดยอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป สำหรับติดต่อแลกข้อมูลข่าวสาร เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ในช่วงแรกนั้นเฟซบุ๊กเปิดให้ใช้งานเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวออกไปสำหรับมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา และตั้งแต่ 11 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ขยายมาสำหรับผู้ใช้ทั่วไปทุกคนเหมือนในปัจจุบัน จากการศึกษาของเว็บ คอมพีต.คอม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 เฟซบุ๊กถือเป็นบริการเครือข่ายสังคมที่มีคนใช้มากที่สุด เมื่อดูจากผู้ใช้ประจำรายเดือน รองลงมาคือ มายสเปซ เอ็นเตอร์เทนเมนต์วีกลี ให้อยู่ในรายชื่อ สิ่งที่ดีที่สุดในสิ้นทศวรรษ และควอนต์แคสต์ ประเมินว่า เฟซบุ๊ก มีผู้ใช้ต่อเดือนราว 135.1 ล้านคน นับเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ข้อมูล ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 จากเฟซบุ๊กมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 584,628,480 สมาชิกทั้วโลก โดยเป็นสมาชิกจากประเทศไทย รวม 6,914,800 สมาชิก |
สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่มี Facebook ท่านสามารถทำการสมัครใช้งาน Facebook ได้ดังนี้ |
1. เข้าสู่เว็บไซต์ www.facebook.com![]() |
2. ทำการลงทะเบียนสมัครโดยกรอก ชื่อ-นามสกุล, อีเมล์, พาสเวิร์ด, เพศ,วัน เดือน ปี เกิด ให้ครบถ้วนและกด ลงทะเบียน![]() |
3. กรอกรหัสผ่าน ตามรูปภาพที่กำหนดให้ แล้วกดปุ่มลงทะเบียน![]() |
4. คลิ๊ก ข้าม ![]() |
5. คลิ๊ก ข้ามขั้นตอนนี้ ![]() |
6. คลิ๊ก ข้าม![]() |
7. คลิ๊ก ข้าม![]() |
8. อัพโหลด รูปภาพประจำตัว แล้ว กดบัทึก![]() |
9. ข้อความแจ้งว่าให้ไปที่อีเมล์ เพื่อทำการกดลิงค์ ยืนยันเข้าใช้งาน Facebook![]() |
10. หลังจากกดยืนยันในอีเมล์เรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าใช้งาน facebook ได้เลย |
วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556
Facebook คืออะไร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น