วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ทำความรู้จัก Affiliate Marketing



         สวัสดีท่าผู้อ่าน ที่มีความสนใจเริ่มต้นอยากมีรายได้เสริม ที่ทำงานผ่าน internet ได้ โดยที่ไม่ต้องลงทุนเพียงแค่คุณต้องเรียนรู้ และทำความเข้าใจกับสิ่งที่จะทำรายได้ให้คุณแบบได้เงินใช้จริงๆ บทความนี้ที่ผมเขียนขึ้นมาเพื่อเปิดโลกกะทัดมุมมองใหม่ๆ ให้กับท่านที่สนใจหลายๆ ท่าน

เรามาทำความเข้าใจกับ Affiliate Marketing คืออะไรมีความหมายว่าอะไรกันก่อนครับ
Affiliate Marketing คือ การทำการตลาดผ่านทางผู้แทนโฆษณา โดยทางบริษัทที่เรานำสินค้าของเขาไปขายให้จะแบ่งจ่ายค่าตอบแทนให้กับเราผู้โฆษณาสินค้าให้กับทางบริษัท หรืออีกในหนึ่งก็คือการแนะนำให้มีคนเข้ามายังเว็บไซด์ของบริษท และคนคนนั้นได้ทำธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทางบริษัทกำหนดไว้

ข้อดีของ Affiliate Marketing
- ไม่จำเป็นต้องมีสินค้าของตัวเอง
- ไม่จำเป็นต้องบริการหลังการขาย
- ไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ก็ได้ (แต่ถ้ามีจะช่วยเพิ่มมูลค่าขึ้นเยอะ - ขอกล่าวถึงในบทต่อไป)
- สามารถควบคุมต้นทุนได้
- สามารถหยุดการขายได้ทันทีถ้าไม่มีกำไร เนื่องจากไม่ต้อง Stock สินค้า
- สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ ขอเพียงมี Internet
- วันใดไม่ได้ทำงาน แต่ก็ยังมีรายได้เข้ามาเรื่อย ๆ
- ไม่ต้องห่วงเรื่องโดนโกงค่า Commission

การทำงานของระบบ Affiliate Marketing
- เจ้าของสินค้า/บริการ สมัครเป็นสมาชิก Affiliate Provider
- เจ้าของสินค้า/บริการ แสดงสินค้าพร้อมค่าคอมมิสชั่น ที่ Website ของ Affiliate Provider
- ผู้ขาย สมัครเป็นสมาชิกของ Affiliate Provider
- ผู้ขาย สมัครเข้าเป็นตัวแทนขาย กับสินค้านั้น ๆ ที่เลือก
- ผู้ขาย นำ Link หรือ Banner ของสินค้า ไปติดที่เว็บไซต์ตัวเอง หรือ นำไปโปรโมท ตาม Search Engine
- ผู้ซื้อ คลิกผ่าน Link หรือ Banner ที่ผู้ขายนำไปติดไว้ แล้วไปซื้อสินค้า
- ผู้ซื้อ จ่ายเงินให้กับ Affiliate Provider
- Affiliate Provider จ่ายเงินให้กับร้านค้าที่เอาของมาขาย + จ่ายเงินค่าคอมมิสชั่นให้กับ ผู้ขาย

การโฆษณา Affiliate Program ของเราทำอย่างไรได้บ้าง
- โฆษณา ผ่าน Search Engine Optimization (SEO)
- โฆษณา ผ่าน Pay Per Click Program (PPC)
- โฆษณา ผ่าน News Letter
- โฆษณา ผ่าน สื่ออื่น ๆ
สรุป
- การทำ Affiliate Marketing ก็คือการ นำสินค้าหรือบริการของ ผู้ขาย มาขาย และ เมื่อขายได้แล้ว เราก็ได้ค่า คอมมิสชั่น นั่นเอง
- ระบบนี้มีข้อดีคือ สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่มี Internet, มีหรือไม่มีเว็บไซต์ของตัวเองก็ได้, ควบคุมต้นทุนได้ง่าย, เรียนรู้และเริ่มต้นได้เร็ว
- การขาย สามารถทำการขายได้หลายรูปแบบ แต่ที่นิยมกันก็คือ การขายผ่าน เว็บไซต์ตัวเอง, การขายผ่าน Search Engine และ News Letter หรือ สื่ออื่น ๆ

**สำหรับบทความต่อไปเราจะมาพูดถึงเว็บไซด์ที่ใช้ระบบ Affiliate Marketing กันนะครับ


วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

เบสิคการทำ SEO ในปี 2013

คือ ผมเคยมาลองเขียนเกี่ยวกับ social backlink แล้ว คง งง กัน

Thaiseo University : class SEO-001

เบสิค seo ว่าด้วยเรื่อง  backlink

ว่าด้วยเรื่อง backlink คนส่วนมากก็คิดว่า backlink ที่ดีคือ dofollow  

แต่

แต่จริงๆ คืออะไรไม่รู้  แต่ dofollow กับ nofollow นี้ มันก็ไม่ค่อยสำคัญแล้ว 

ผมว่า 

ตั้งแต่ปี 2008 ก็ผ่านมา 4 ปีแล้ว  ตั้งแต่ผมเริ่มทำ เริ่มศึกษา seo ใหม่ๆ และ ผมก็ได้ยินว่า ทำ backlink ต้องทำ dofollow 

ผมว่า ผ่านมา 4 ปีแล้ว  

ผมว่า ทุกวันนี้ google bot ฉลาดจน เหลือเชื่อแล้ว  

ผมขอมาแนะนำ เบสิค seo ของปี 2013 ที่ผมคิดว่า มีประโยชน์ 

คือ ผมคิดว่า backlink ท่ดี คือ  backlnk ที่มี traffic   

และ backlnk ที่มี traffic จะมีผลต่อ google ranking

ปกติ  เวลาทำ web ผมจะทำ  social ไปด้วย  

 


เห็นหลายๆคน  ถามว่า good backlink คืออะไร
   

ผมก็ขอมาบอกว่า  good backlink หรือ link ธรรมชาติ  มันต้องมาจาก เว็บในรูปข้างบนนี้ social web  

ปี 2013 นี้ ถ้าเว็บคุณดีจริง  ต้องมี ผู้คน พูดถึง และ link มาจาก เว็บข้างบนในรูปนี้  (ผมเชื่อว่าเว้บในรูปข้างบนนี้ google bot เข้าไปอ่านทุกวัน)

เบสิค seo ที่ดี คือ ต้อง มี good backlink + timeline + anchor =  คุณ จะได้ ทั้ง traffic และ google rank และ money  

ลองดูนะครับ  

เบสิคก็คือเบสิค  ถ้าพื้นฐานไม่ดี เวลา ต่อยอด ก็ลำบาก

เขียนจากประสบการณ์ผมครับ  

ใครหรือพี่ๆน้องๆ ที่มาเริ่มใหม่ ผมอยากให้เริ่ม ทำเว็บ ใน จุด ที่ google อยากให้เราเริ่ม  แล้วค่อยๆขยับๆขึ้นนะครับ

TOP 10 GOOGLE.COM
  ไม่ยากครับ  แล้วว่างๆจะมาเขียนต่อครับ   

ทุกเส้นทาง มีทั้ง ทางด่วน และ ทางลัด  แต่ถ้าคุณอยากจะไปให้ถึงจุดหมาย  แน่นอน ต้องไปทางปกติ  ช้าแต่ชัว 

ถ้าคิดว่า กระทู้นี้ มีประโยชน์ ช่วยเขียน "comment หรือ แนะนำ หรือ สงสัย อะไร" ให้ผมนะครับ  เพื่อเป็นกำลังใจ ให้ผมเขียนต่อไป

ขอบคุณครับ

ET white hat  ผมสวมหมวกสีขาวแล้วครับ...


ขอบคุณบทความจากคุณ ET ใน thaiseo ด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

เริ่มต้นกับการเขียน Facebook Application สำหรับผู้เริ่มต้น (PHP)

 

30
JUN
46
ก่อนอื่นต้องขอบ่นก่อนเลยว่าผมงงมากๆ กับการเริ่มเขียน Facebook API เนื่องจาก Wiki ของ Facebook มีเนื้อหาต่างๆ มากมาย ทั้ง Low Level และ High Level ผสมกัน กว่าจะเข้าใจและพอเขียน App ที่ใช้ได้จริงๆ ก็เป็นอาทิตย์เพราะนั่งปวดเศียรเวียนเกล้ากับอยู่นานสองนาน ดังนั้นใครอยากเขียน Facebook Application ละก็ควรจะรู้สิ่งต่างๆ ข้างล่างไว้ก่อน เพื่อที่เวลาจะเริ่มหัดจะได้ไม่งงเหมือนกับผม
ก่อนอื่นสิ่งที่ต้องมีอันดับแรกคือ host ของตัวเองที่ไหนก็ได้ เพราะ Facebook จะไม่มีที่สำหรับ upload file ของเราเก็บให้ครับ ต้องมี host เป็นของตัวเอง แล้ว Facebook จะมาดึงข้อมูลจาก host ของเราไปแสดงบน facebook อีกทีหนึ่ง (ผ่าน Canvas Callback URL ใน Tab Convas ด้านล่าง) สิ่งที่ต้องทำมีดังนี้
  1. http://www.facebook.com/developers/ เข้าหน้านี้แล้วกด Allow Access จะเป็นการอนุญาตการใช้ App เหมือน App บน facebook ทั่วไป (อย่าลืม bookmark ด้วยล่ะ! เพราะมันก็เป็น app ที่สามารถ bookmark ได้ตามปกติ)
  2. คลิก Setup New Application ทางมุมขวาบน
  3. ช่อง Application Name ก็กรอกชื่อ App ที่เราจะสร้างตามสะดวก
  4. ติ๊ก Agree แล้ว Save Change
  5. จะเข้าสู่หน้า Application Setting ซึ่งส่วนที่เราต้องไปเซ็ตค่ามีดังนี้ (ส่วนอื่นนอกจากนี้ ถ้าไม่ต้องการใช้อะไรที่ Advance จริงๆก็ไม่ต้องยุ่งครับ จะมีอะไรให้เซ็ตเยอะมาก)
    1. Tab General ต้องเซ็ตดังนี้
      • Application Name - อันเดียวกับที่ใส่ไปแล้ว
      • Description - รายละเอียด Application ที่จะให้แสดงตอนขึ้น Allow Access ให้ดึง friend มาได้
      • Icon - icon เวลา bookmark และ publish ลง wall
      • Logo - แสดง logo ตอน Allow Access และอื่นๆ
      • Developers - ถ้ามีเพื่อนหลายคนช่วยกัน จะแบ่ง permission ให้เข้ามาแก้ Application Setting ได้ด้วยก็ใส่เพิ่มตรงนี้
    2. Tab Convas
      • Canvas Page URL - URL ที่จะให้ผู้ใช้ App ของเราจำ หรือใส่ link ต่างๆ (จะเปลี่ยน URL เมื่อไหร่ก็ได้ตามต้องการ และไม่กระทบกับผู้ใช้ที่ bookmark app เราไว้)
      • Canvas Callback URL - URL ที่เชื่อมโยงกับเว็บจริงของเราที่ทำการประมวลผลต่างๆ ใน app และส่งมาให้ผู้ใช้ได้ใช้ (host ของเรานั่นเองแหละ) เช่น http://www.myserver.com/facebook_app/ (ต้องมี / ปิดท้าย ไม่งั้นจะไม่ได้)
      • Render Method - อันนี้ให้เลือกเป็น Iframe ซึ่งผมจะอธิบายความแตกต่างระหว่าง เลือกแบบ FBML กับแบบ Iframe ให้อีกทีครับ (ใน Tutorial อันต่อๆ ไปจะสร้าง app ใน iframe ครับเลยต้องเลือกอันนี้)
      • IFrame Size - อันนี้เลือกเป็น Resizable ซึ่ง Smart size คือการกำหนดให้ Auto Resize กรอบของ iframe ตามขนาดหน้าจอ Browser ครับ แต่ให้เลือกเป็น Resizable เพราะเราจะมีวิธีแก้ที่ดีกว่าภายหลังครับ หึหึ :P
    3. Tab Connect
      • Connect URL - กรอก URL host เราเข้าไปเหมือนเดิมครับ แต่ให้ใส่ ROOT URL นะครับ เช่นเราเก็บ code facebook app จริงๆ ไว้ที่ www.mydomain.com/myfacebookapp ก็ใส่เป็น www.mydomain.com ไม่งั้นจะมี bug cookie ในภายหลัง
      • Facebook Connect Logo - จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ครับ ไม่มีผล
    4. Tab Advanced
      • Sandbox Mode - ถ้าเลือกเป็น Enable จะอนุญาตให้เฉพาะ Developer ของ App นี้เท่านั้นที่สามารถใช้งานทดสอบ App นี้ได้ (ตามช่อง Developers ที่ได้กรอกไว้ใน Tab General) ซึ่งหากเป็น App ที่อยากให้เพื่อนช่วยทดสอบ แต่ไม่อยากให้เพื่อนเข้ามายุ่มย่ามกับ Application Setting ของเราก็ปล่อย Disable ไปเถอะครับ
  6. คลิก Save Changes ก็จะแสดงหน้า Profile ของ Application เราขึ้นมา ให้จำค่า API Key และ Application Secret เอาไว้ให้ดี เพราะต้องเอาไปใช้ใน code ของเราตอนเชื่อมกับ Facebook ครับ
  7. ในหน้าเดียวกันกับข้อที่แล้วให้เลื่อนลงมาด้านล่าง คลิก Download the Client Library (จะกด link นี้เพื่อดาวน์โหลดเลยกได้ แต่ไม่ยืนยันว่าจะได้ library เวอร์ชั่นล่าสุดครับ) ส่วนใครที่ไม่ได้ใช้ php สามารถ Download library ต่างๆ ในภาษาที่ใช้ได้ที่ Unofficial Client Libraries
  8. Extract Client Library ออกมา จะมี folder footprints กับ php ซึ่ง folder footprint จะเป็น app ตัวอย่างซึ่งใช้ Setting แบบ FBML ในการรันใช้งาน (แต่เราเลือกเป็น Iframe ไว้) ดังนั้นจะใช้งานกับ Tutorial ฉบับนี้ไม่ได้ ใครอยากลองในนั้นก็ได้ครับ ตามสบาย
  9. ใน Folder php ไฟล์ที่เราต้องใช้มีเพียงสองไฟล์คือ facebook.php และ facebookapi_php5_restlib.php ส่วนไฟล์ facebook_desktop.php ก็ตามชื่อครับ ไว้ใช้ถ้าเราสร้าง App ที่อยู่บน Desktop แต่เราสร้างบนเว็บอยู่แล้วก็ไม่ต้องยุ่ง และสุดท้ายคือ folder jsonwrapper ใช้สำหรับถ้า host ที่เราใช้อยู่ ไม่สามารถใช้ function json_encode และ json_decode ได้ก็จะต้อง include ใช้ library ในส่วนนี้ด้วย (ปกติแล้วถ้า host เป็น php5 ตั้งแต่ 5.2 ขึ้นไปจะสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ได้อยู่แล้ว)
  10. กลับมาที่หน้าเดิมกับข้อ 7 (อีกแล้ว) จะมีช่องนึงเขียนว่า Sample Code “Get started quickly with some example code!” นั่นแหละคลิกคำว่า example code เอาเลย แล้วจะมี popup เด้งขึ้นมาพร้อม code ตัวอย่างที่ป้อน API Key, กับ Application Secret ของ App เราไว้ให้แล้วเสร็จสรรพ!! เพียงแค่ copy paste ไปสร้างไฟล์ใหม่ชื่อ index.php แล้ว upload เข้า host เราให้ path ตรงกับ Canvas Callback URL ที่กรอกไว้ใน Tab Convas (อย่าลืม upload facebook.php และ facebookapi_php5_restlib.php ขึ้นไปด้วยให้อยู่ directory เดียวกันกับ index.php ของเรา)
  11. ทดสอบพิมพ์ URL ตาม Canvas Page URL ที่กรอกไว้ใน Tab Convas ก็จะรัน app ได้ทันที โอ้!! มีรายเพื่อนของเราโผล่มาหมดเลย!! :P อะไรเนี่ย?? ยังไม่ต้อง code เลยซักแอะ แค่ Copy Paste เอง :P
  12. ถ้าต้องการ Edit Application Setting อีกครั้งก็เข้าหน้า Facebook Developer ที่ bookmark ไว้แล้วจะมีรายชื่อ App ที่เราสร้างไว้ทางขวาบน (ใต้ปุ่ม Setup New Application) แล้วจะกลับมาที่หน้าเดียวกับข้อ 7 คลิกที่ Edit Settings ก็จะแก้ไขค่าต่างๆ ได้ครับ
เสร็จแล้ว โอ… เหมือนจะไม่ยากเลยใช่ไหมครับ แต่ความยุ่งยากที่แท้จริงมันหลังจากนี้ครับ 555 อ่านต่อภาคนิดยามความหมายต่างๆ ว่าไอ้ที่เราทำอะไรไปเนี่ยมันยังไงบ้างได้ที่บทความต่อไปครับ…
ปล. สำหรับใครที่ใช้ Framework Codeigniter สามารถดูตัวอย่างการสร้าง Facebook Application บน Codeigniter ได้ที่นี่ โดยอันนี้ต้องเลือก Render Method เป็นแบบ FBML นะครับ
ปล2. ขี้เกียจ Capture รูป ไม่ว่ากันนะ :P

Facebook ในฐานะ search engine

Facebook
คงไม่มีใครนึกถึงบริการ social network ยอดนิยมอย่าง Facebook ในฐานะ search engine มากนัก แต่ถ้ามองข้ามล่ะก็ ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลอาจโดนโค่นได้เช่นกัน
เมื่อเดือนเมษายน Facebook ได้ประกาศแผนสำคัญ Open Graph ซึ่งจะทำให้หน้าเว็บเพจต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต กลายเป็นวัตถุและสิ่งของในจักรวาลของ Facebook ได้ผ่านการกดปุ่ม Like ของผู้ใช้ ตอนนี้เวลาผ่านไปสองเดือน มีเว็บจำนวนไม่น้อยที่รองรับ Open Graph (ของ Blognone รอหน่อยนะครับ ทำแน่) และ Facebook ก็มีข้อมูลของวัตถุเหล่านี้เป็นจำนวนมหาศาล
ตลาด search engine เกิดผลกระทบทันทีเมื่อ Facebook นำข้อมูลของเว็บเพจเหล่านี้มารวมในผลการค้นหาภายใน Facebook เองด้วย แปลว่าต่อไปค้นคำในช่องค้นหาของ Facebook ก็จะเจอข้อมูลภายใน Facebook เอง เช่น เพื่อน และข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่คนช่วยกันกด like ให้ด้วย (คนกด like มากก็มีโอกาสมากว่าจะเป็นเนื้อหาที่ดี เหมือนกับ PageRank ของกูเกิล)
ตอนนี้ระบบค้นหาเว็บของ Facebook ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น ถ้าให้โอกาสพัฒนาอีกสักพัก ผมว่ากูเกิลก็มีเสียวๆ ล่ะครับ (ไม่ต้องใช้ crawler ด้วย นอนอยู่เฉยๆ ผู้ใช้ก็ส่งเว็บเข้ามาใน index ให้)

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

Facebook ทำรายได้จากอะไรบ้าง


จากข้อมูลของ Facebook ที่ต้องการเข้าตลาดหลักทรัพย์ และจะเริ่มเปิดซื้อขายหุ้นในวันที่ 18 พฤษภาคมนี้ ทำให้เราได้เห็นที่มาของแหล่งรายได้ของ Facebook ว่าปัจจุบันทำรายได้จากอะไรบ้าง เช่น รายได้ของ Facebook ในไตรมาสล่าสุด Facebook มีรายได้ 82% มาจากการขายโฆษณา ข้อมูลวิเคราะห์จาก BIA/Kelsey
Cotton Delo นักข่าวจาก AdAge ได้นำข้อมูลรายได้ของ Facebook มาแสดงในรูปแบบของธนบัตรที่มีรูป Mark Zuckerberg อยู่ตรงกลางพร้อมข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
  • ปัจจุบัน Facebook มีสมาชิกจากทั่วทุกมุมโลกทั้งหมด 901 ล้านสมาชิก
  • รายได้ 15% ของ Zynga จะถูกแบ่งให้กับ Facebook
  • ไตรมาสแรกของปี 2012, Facebook มีรายได้ 82% จากการขายโฆษณา และอีก 18% มากจาก Facebook payments (Facebook payment เป็นรายได้ที่เกิดจาก Facebook Credits การซื้อไอเท็มในเกม แอพพลิเคชั่นและบริการจาก Facebook ผ่านระบบชำระเงินออนไลน์ของ Facebook
 

เมื่อกล่าวถึงรายได้ต่อสมาชิกของ Google และ Facebook ในปี 2011

  • สำหรับตัวเลขของประเทศอเมริกา รายได้ต่อสมาชิกของ Google อยู่ที่ $95.96 ต่อสมาชิก Facebook มีรายได้ต่อสมาชิกอยู่ที่ $13.07
  • สำหรับตัวเลขของทั่วโลก รายได้ต่อสมาชิกของ Google อยู่ที่ $36.70 ต่อสมาชิก Facebook มีรายได้ต่อสมาชิกอยู่ที่ $5.1

ปี 2017 Facebook จะมีรายได้เท่าไหร่ และแหล่งใดบ้าง

ภายในปี 2017 คาดว่า Facebook จะมีรายได้จากการขายโฆษณที่ 69% โดยรวม US$12.6 พันล้านเหรียญฯ จากสื่อโฆษณาประเภท โทรศัพท์มือถือ ออนไลน์วิดีโอ และอื่นๆ  ส่วนรายได้จาก payments คาดว่าจะอยู่ 31% จากรายได้ทั้งหมด รวมมูลค่า US$12.6 พันล้านเหรียญฯ จากดิจิตอลมีเดียคอนเท้นท์ คอมเมิร์ซ และเกม

by Cotton Delo cdelo@adage.com Adage
Illustration by Taylor Callery
Source: comscore, Facebook’s filing

ที่มา http://www.marketingoops.com/digital/how-facebook-make-money/

Facebook คืออะไร

       หลายท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า facebook เป็นที่ฮิตเหลือเกินในปัจจุบัน ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ตั้งแต่เด็กน้อยอนุบาลจนคนทำงานใครๆ ก็พูดถึงแต่ Facebook วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ ว่า facebook คืออะไร และเราจะใช้งาน facebookได้อย่างไร

หากจะอธิบายคำว่า Facebook คืออะไรนั้น คงต้องอธิบายคำว่า Social network กันก่อน
Social network คือ การที่คนเราสามารถทำความรู้จักหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล เชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง 
เว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกัน ซึ่งทำให้เกิดเครือข่ายสังสังคมที่ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันบนโลกอินเตอร์เน็ท 

เฟซบุ๊ก (อังกฤษFacebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมและเว็บไซต์ เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2004 ดำเนินงานและมีเจ้าของคือ บริษัท เฟซบุ๊ก (Facebook, Inc.) จากข้อมูล 4 ตุลาคม 2555 เฟซบุ๊กมีผู้ใช้ประจำ พันล้านกว่าบัญชี หรือคิดเป็นอัตราส่วน 1 ใน 7 ของคนทั้งโลก  ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ รวมถึงได้รับแจ้งโดยทันทีเมื่อพวกเขาปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทำงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ อื่น ๆ ชื่อของเฟซบุ๊กนั้นมาจากชื่อเรียกภาษาปากของสมุดที่ให้กับนักเรียนเมื่อเริ่มเแรกเรียนในสถาบันอุดมศึกษา ที่มอบให้โดยคณะบริหารมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถรู้จักผู้อื่นได้ดีมากขึ้น เฟซบุ๊กอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าสมัครลงทะเบียนกับเฟซบุ๊ก โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป

Facebook คือ  เว็บไซต์ Social Network เว็บหนึ่ง เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก การได้รับความนิยมของ Facebook อาจเนื่องมาจากบน Facebook นั้น ผู้ใช้งานสามารถใช้เพื่อติดต่อสื่อสารหรือร่วมทำกิจกรรมกับผู้ใช้งานท่านอื่นได้เช่น การเขียนข้อความ เล่าเรื่อง ความรู้สึก แสดงความคิดเห็นเรื่องที่สนใจ โพสต์รูปภาพ โพสต์คลิปวิดีโอ แชทพูดคุย เล่นเกมที่สามารถชวนผู้ใช้งานท่านอื่นมาเล่นกับเราได้ รวมไปถึงทำกิจกรรมอื่นๆ ผ่านแอพลิเคชั่นเสริม (Applications) ที่มีอยู่อย่างมากมาย ซึ่งแอพลิเคชั่นดังกล่าวได้ถูกพัฒนาเข้ามาเพิ่มเติมอยู่เรื่อยๆ แอพลิเคชั่นยังแบ่งออกเป็นหลายหมวดหมู่ เช่น เพื่อความบันเทิง เกมปลูกผักยอดนิยม เป็นต้น หรือไม่ว่าจะเป็นเชิงธุรกิจ แอพลิเคชั่นของ Facebook ก็มีให้ใช้งานเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้Facebook จึงได้รับความนิยมไปทั่วโลก

เฟซบุ๊กก่อตั้งขึ้นโดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก ร่วมกับเพื่อนร่วมห้องในวิทยาลัยของเขาและเป็นนักเรียนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ชื่อ เอ็ดวาร์โด ซาเวริน, ดิสติน มอสโควิตซ์ และคริส ฮิวส์ เดิมทีสมาชิกของเว็บไซต์จะจำกัดเฉพาะกลุ่มผู้ก่อตั้งและนักเรียนมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด แต่ต่อมาขยับขยายไปสู่มหาวิทยาลัยอื่นในแถบบอสตัน, กลุ่มไอวีลีก, และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แล้วค่อย ๆ เพิ่มนักเรียนจากมหาวิทยาลับอื่น จนกระทั่งเปิดให้กับนักเรียนระดับไฮสคูล จนในที่สุดทุกคนก็สามารถเข้าสมัครได้โดยอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป
สำหรับติดต่อแลกข้อมูลข่าวสาร เปิดใช้งานเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ในช่วงแรกนั้นเฟซบุ๊กเปิดให้ใช้งานเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวออกไปสำหรับมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา และตั้งแต่ 11 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ขยายมาสำหรับผู้ใช้ทั่วไปทุกคนเหมือนในปัจจุบัน
จากการศึกษาของเว็บ คอมพีต.คอม ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 เฟซบุ๊กถือเป็นบริการเครือข่ายสังคมที่มีคนใช้มากที่สุด เมื่อดูจากผู้ใช้ประจำรายเดือน รองลงมาคือ มายสเปซ เอ็นเตอร์เทนเมนต์วีกลี ให้อยู่ในรายชื่อ สิ่งที่ดีที่สุดในสิ้นทศวรรษ และควอนต์แคสต์ ประเมินว่า เฟซบุ๊ก มีผู้ใช้ต่อเดือนราว 135.1 ล้านคน นับเฉพาะในสหรัฐอเมริกา
ข้อมูล ณ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 จากเฟซบุ๊กมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 584,628,480 สมาชิกทั้วโลก โดยเป็นสมาชิกจากประเทศไทย รวม 6,914,800 สมาชิก
 
สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่มี Facebook ท่านสามารถทำการสมัครใช้งาน Facebook ได้ดังนี้
1. เข้าสู่เว็บไซต์ www.facebook.com

2. ทำการลงทะเบียนสมัครโดยกรอก ชื่อ-นามสกุล, อีเมล์, พาสเวิร์ด, เพศ,วัน เดือน ปี เกิด ให้ครบถ้วนและกด ลงทะเบียน
  
3. กรอกรหัสผ่าน ตามรูปภาพที่กำหนดให้ แล้วกดปุ่มลงทะเบียน
4. คลิ๊ก ข้าม 
 
 5. คลิ๊ก ข้ามขั้นตอนนี้ 
6. คลิ๊ก ข้าม

 
7. คลิ๊ก ข้าม


 
8. อัพโหลด รูปภาพประจำตัว แล้ว กดบัทึก

9. ข้อความแจ้งว่าให้ไปที่อีเมล์ เพื่อทำการกดลิงค์ ยืนยันเข้าใช้งาน Facebook


   
10.  หลังจากกดยืนยันในอีเมล์เรียบร้อยแล้ว สามารถเข้าใช้งาน facebook ได้เลย

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

มุ่งสู่ clickbank กับ 9 ขั้นตอน


หาเงินกับ ClickBank ด้วย 9 ขั้นตอน สู่ความสำเร็จ

ต่อไปนี้จะเป็นวิธีที่ใช้ทำเงินกับ Affiliate โดยเฉพาะ ClickBank จากคนที่ประสบความสำเร็จ และสามารถหาเลี้ยงชีพด้วยสิ่งนี้มาโดยตลอด โดยไม่ต้องหางานอย่างอื่นทำอีก แม้แต่การหาเงินกับ Google AdSense ก็กลายเป็นรายได้เสริมไปทันที มาดูกันเลยครับว่าขั้นตอนที่เขาใช้กันมีอะไรบ้าง
1. เลือกตลาด
การเลือกตลาดกว้างเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นสิ่งแรก เหมือนกับการเลือกหมวดหมู่ของสินค้า ที่คุณสามารถหาไอเดียต่างๆ ได้ตาม eBay, Amazon Bestselling Product ฯลฯ อย่าลืมว่าตลาดมีเป็นหมื่นเป็นพัน แต่ตลาดที่ควรเลือกคือตลาดที่จะทำเงินให้ได้ง่ายกว่าตลาดอื่นๆ อย่างเช่น ตลาดสุขภาพ (health) , ตลาดเปลี่ยนแปลงตัวเอง (self improvement), DIY เช่น solar power), การเงิน (finance), ท่องเที่ยว (travel) ฯลฯ
2. เจาะตลาดเฉพาะ (long tail, micro niche)
เมื่อเลือกตลาดได้แล้ว ก็มาเจาะให้ลึกเข้าไปถึงความต้องการย่อย หรือเจาะจงตลาดให้ชััวร์ๆ ไปว่ามันคืออะไรกันแน่ เพื่อทำให้การทำตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น จากตลาดสุขภาพ ตลาดเฉพาะย่อยลงมาก็สามารถเป็นได้ตั้งแต่เรื่อง โรคมะเร็งชนิดใดชนิดหนึ่ง ไปจนถึงการเลือกกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น (stage cancer – healthy food for old people)…
3. วิเคราะห์คีย์เวิร์ด (Keyword Search)
เมื่อรู้แล้วว่าจะเจาะตลาดไหน ทีนี้ก็มาถึงการมาดูกันจริงๆ ว่าตลาดย่อยนั้นๆ เวลาคนต้องการจะหาข้อมูลเขาค้นหากันด้วยคำหรือคีย์เวิร์ดคำว่าอะไร ด้วยการใช้เครื่องมือง่ายๆ อย่าง Google Keyword Suggestion Tool แล้วนำเอาคำเหล่านั้นมาสร้างเว็บหรือเขียนบทความ
4. เลือกสินค้ายอดฮิตใน ClickBank
ทีนี้ก็ถึงเวลาเข้าไปที่ CB เพื่อดูว่าในนิชคีย์เวิร์ดนั้นๆ มีสินค้าอะไรบ้างที่ขายดิบขายดี และน่าสนใจที่สุด ดูได้จากเมนู Market Place จากนั้นใส่นิชเข้าไปแล้วเลือกให้เรียงผลลัพธ์จาก popularity และดูที่สินค้า Gravity ไม่ให้ต่ำกว่า 50 ขึ้นไป
5. ค้นพบไทเทิ้ลโดนใจ
จุดนี้เองที่จะสร้างความแตกต่างระหว่างผู้ประสบความสำเร็จกับผู้ล้มเหลว เมื่อได้สินค้าแล้ว ทีนี้ก็จะมาดูว่าสินค้าที่เป็น e-book ที่เลือกมานั้น มันแก้ปัญหาให้คนกลุ่มหนึ่งได้ จากคำถามอะไรมากที่สุด เช่นผมเลือก e-book เกี่ยวกับ ผมร่วง ทีนี้มันก็เป็นหน้าที่ๆ ผมต้องรู้ว่าเวลาคนผมร่วงอยากรู้วิธีแก้ปัญหาในเรื่องนี้ เขาจะพิมพ์ประโยคอะไรเข้าไปใน Google กันบ้าง เป็นต้น เช่น how to prevent hair loss, hair loss prevention tips อะไรทำนองนี้ ที่เป็นไทเทิ้ลอย่างดี (อย่าคิดเองเป็นอันขาด) ให้หาได้จาก Google Keyword Suggestion Tool เช่นเคย ด้วยการพิมพ์คำว่า hair loss หรือสินค้าที่คุณเลือกที่จะขายเข้าไป
6. สร้างบทความ (create article)
การสร้างบทความในทีนี้ จะต้องเป็นบทความที่ไม่ได้เอามาจากเว็บแจกบทความฟรี แต่สามารถเอามาจากการจ้างคนอื่นเขียน หรืออะไรก็ตารมที่อ่านแล้วสามารถทำให้ลูกค้าเชื่อได้ว่าคุณคือหนึ่งในจ้าวแห่งวงการนั้นๆ การหาเงินกับ ClickBank นั้นไม่เหมือนกับ AdSense ก็ตรงนี้เอง สำหรับการทำ AdSense คุณภาพของบทความไม่ใช่เรื่องใหญ่เท่า การสร้างบทความ ส่วนใหญ่จะต้องสร้างออกมาซัก 5-10 บทความอย่างต่ำ
7. สร้าง Landing Page
Landing Page คือปราการด่านสุดท้ายที่คุณจะใส่บทความเพื่อให้ลูกค้าเชื่อ แล้วยอมจ่ายเงินซื้อ e-book ต่างๆ ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยหน้าแรก ด้วยคำโฆษณาต่างๆ จากหน้าก็บทความต่างๆ ที่เตรียมไว้ และสุดท้ายข้อความ testamonial (คำบอกเล่าของผู้ที่เคยใช้สินค้า)
8. เผยแพร่บทความ
ในการทำเงินกับ ClickBank หลายคนเข้าใจตรงจุดนี้ผิดไป ว่าต้องเหมือนกับการทำ Google AdSense ด้วยการเอาบทความไปใส่ไว้ในเว็บแล้วทำ SEO เพื่อรอวันเวลาอันยาวนานให้ Search Engine เข้ามาเห็นเพื่อ Rank ในอันดับที่ดี ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นเดือนๆ และจากจำนวนบทความแค่นั้นที่มี ผมว่าคงเป็นไปได้ยากแน่นอน ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำก็คือต้อง by pass SEO ด้วยการเอาบทความไปฝากหรือ submit กับเว็บ articles ชื่อดังต่างๆ รวมทั้ง Squidoo lens และ Social Bookmarking ต่างๆ เพื่อให้ผู้คนมากมายจากเว็บเหล่านั้นเข้ามาที่ Landing Page
9. ทำซ้ำทั้งหมดอีกครั้ง
นั่นคือขั้นตอนทั้งหมดอย่างคร่าวๆ ในการทำเงินวันละหลายพันบาท (ไม่ได้ล้อเล่น) กับ ClickBank ที่ถ้ามีเวลาจะมาอธิบายขั้นตอนอย่างละเอียดในบทความหน้านะครับ ตอนนี้ผมหวังว่าหลายคนคงจะเห็นภาพกันมากขึ้นว่าการทำเงินกับ ClickBank นั้นมีขั้นตอนอะไรบ้างที่ต้องทำ แล้วพบกันใหม่ครับ